วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

PLC (Nara2engclub)
Professional   Learning Community (PLC) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ในวิชาชีพ
          ผู้ริเริ่มทำงานวิจัยพัฒนาและส่งเสริมชุมชนเรียนรู้ของครู คือ ริชาร์ด ดูฟูร์ ในปี พ.ศ. 2541 เพื่อเป็นสื่อกลางของคณะครูที่รวมตัวกันสร้างสรรค์ นำประสบการณ์จากการจัดการเรียนรู้ และนวัตกรรมอื่น ๆ ที่ตนเองทดลองใช้มาแลกเปลี่ยนกัน เป็นการสร้างองค์ความรู้ในการทำหน้าที่ครูจากประสบการณ์ตรง และจากหลากหลายทฤษฎีที่มีผู้คิดค้นไว้
          PLC เป็นกระบวนการต่อเนื่องที่ครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมมือกันทำงานในวัฎจักรของการร่วมกันตั้งคำถาม และการปฏิบัติจริงเพื่อให้ผู้เรียนมีพัฒนาการเรียนรู้ที่ดีขึ้น โดยมีหลักสำคัญที่การทำงานของครูและผู้เกี่ยวข้องในประเด็นต่อไปนี้
ü เน้นกิจกรรมการเรียนรู้
ü มีวัฒนธรรมร่วมมือกันเพื่อการเรียนรู้ของทุกฝ่าย
ü ร่วมกันตั้งคำถามต่อวิธีการที่ดี และสภาพปัจจุบัน
ü เน้นการปฏิบัติจริง
ü มุ่งพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ü เน้นที่ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ของผู้เรียน (QA-News : KMUTNB, 2557)
วัฒนธรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ในวิชาชีพ (Professional Learning Community Culture)
ในทัศนะของวัชรา เล่าเรียนดี (2556: 82) มี 6 องค์ประกอบคือ
1.       การมีเป้าหมายและค่านิยมร่วมกัน
2.       การมีบรรทัดฐานและค่านิยมแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
3.       ความผูกพันในภาระหน้าที่  การมีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของนักเรียนทุกคน (Commitment)
4.       การมีความสัมพันธ์และความร่วมมือกันฉันท์เพื่อนร่วมวิชาชีพเดียวกัน (Collegial Relationship)
5.       การให้โอกาสและอิสระบุคลากรในโรงเรียนได้แสดงความคิดเห็น แสวงหาความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
6.       การร่วมมือกันเรียนรู้และพัฒนา (Collaboration)

กรอบแนวคิด PLC




 ตัวอย่าง     วงจรการทำงานเป็นทีมแบบ PLC

                     










ที่มา  คู่มือการนิเทศการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ (2557) สพป. นราธิวาส เขต 2  (ฮาซานะห์  บินมะอุง)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น