การนิเทศการจัดการเรียนการรู้ด้วย
Clinical
Supervision
การนิเทศแบบคลินิก (Clinical
Supervision)จากแนวคิดของโกลด์ แฮมเมอร์ และโคแกน (Goldhammer
and Cogan 1969, 1973 อ้างถึงในวัชรา เล่าเรียนดี, 2556) เป็นกระบวนการนิเทศเพื่อการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนโดยตรง
เริ่มด้วยการพูดคุยปรึกษาหารือระหว่างผู้นิเทศและครูผู้สอนเกี่ยวกับแผนการสอน
การสังเกตการณ์สอน การวิเคราะห์ข้อมูลการสอน
และการให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับประเด็นที่มีการสังเกต (วัชรา เล่าเรียนดี, 2556 : 95)
ขั้นตอนการนิเทศการสอนแบบคลินิก
(รูปแบบประยุกต์ใช้ตามบริบทของ สพป.
นราธิวาส เขต 2)
1.
ขั้นก่อนการสังเกตการณ์สอนเป็นขั้นทบทวนแผนการสอนของครู ซึ่งประกอบด้วย
วัตถุประสงค์ กิจกรรม
และการประเมินผล
ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้นิเทศ ได้ทำการตกลงในประเด็นที่จะสังเกตการสอนร่วมกัน
2.
ขั้นสังเกตการณ์สอนเป็นขั้นการใช้เครื่องมือเพื่อบันทึกหลักฐานหรือเหตุการณ์ที่
เกิดขึ้นระหว่างที่ครูการสอน ผู้นิเทศควรเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นส่วนตัว
หรือตัดสินผลการสอนของครู
3.
ขั้นวิเคราะห์เป็นขั้นการระบุประเด็นหรือหัวข้อ ตลอดจนลำดับความสำคัญของ
ประเด็นหรือหัวข้อเหล่านั้นเพื่อที่จะร่วมสนทนาหรืออภิปรายร่วมกันหลังจากการสังเกตการสอนเสร็จสิ้น
4.
ขั้นหลังการสังเกตการณ์สอนเป็นขั้นให้ข้อมูลย้อนกลับถึงจุดเด่น
และจุดที่ควรพัฒนา
ในการจัดการเรียนการสอนของครู
แนวทางในการดำเนินการนิเทศ
1.
การสร้างบรรยากาศที่ดีในการนิเทศ เป็นการเริ่มนำสนทนาโดยใช้คำพูดที่
เป็นมิตร
สร้างความคุ้นเคยกับผู้รับการนิเทศ ให้เหมาะสมกับบริบท
2.
อภิปรายเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละการนิเทศนั้น
ๆ เป็น
การระบุจุดเด่นและจุดที่ควรพัฒนาในการสอนครั้งนั้น
ๆ ของผู้รับการนิเทศ
3.
การให้ข้อมูลป้อนกลับโดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ได้จากการสังเกตการ
สอน
เป็นการใช้ข้อมูลที่บันทึกระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูและให้ครูผู้รับการนิเทศได้มีส่วนร่วมในการรับ-ส่ง
ข้อมูลย้อนกลับ
4.
การเสนอแนะเพื่อปรับปรุง เป็นการเสนอทางเลือกเพื่อการพัฒนาอย่าง
ยั้งยืนโดยผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศได้เห็นพ้องต้องกันในสิ่งนั้น
ๆ
5.
การสรุปสู่ทิศทางการพัฒนาในอนาคต เป็นการสรุปจุดแข็งของบทเรียน
นั้น
ๆ และช่วยให้ครูได้แนวทางในการปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในครั้งต่อไป
ประเด็นในแต่ละขั้นตอน
1.ขั้นตอนก่อนการสังเกตการสอน
1.1
การสร้างบรรยากาศที่ดีก่อนการนิเทศ(Climate Setting)
1.2 การทำความเข้าใจแผนการสอนระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ
(Clarifying lesson plan)
1.3
การระบุประเด็นที่จะสังเกตการณ์สอน(Identifying focus of
observation)
1.4 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล (Method of
collecting evidence)
2. ขั้นตอนการสังเกตการสอน
1.1 ตกลงร่วมกันระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศในประเด็นที่จะทำการนิเทศ
1.2
กำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการนิเทศ(การออกแบบเครื่องมือนิเทศควรดำเนิน
การก่อนการนิเทศ)
1.3 สังเกตการณ์สอนตามประเด็น
และเครื่องมือที่ตกลงกันระหว่างผู้รับการนิเทศและ
ผู้นิเทศ
ตัวอย่างประเด็นในการสังเกตการสอน
เช่น การจัดการชั้นเรียน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
การใช้คำถาม
การปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน
การวัดและประเมินผล สื่อและแหล่งเรียนรู้
เป็นต้น
ตัวอย่างเครื่องมือในการสังเกตการสอน เช่น
สังเกตและบันทึกข้อมูลในแบบบันทึกรายการ
แบบบันทึกภาคสนาม
เครื่องบันทึกเสียงหรือวิดิทัศน์ เป็นต้น
ตัวอย่างวิธีสังเกตการณ์สอน
จุดเด่น/จุดที่ต้องพัฒนาของผู้รับการนิเทศ
|
หลักฐาน ร่องรอย
ข้อมูลที่รวบรวมได้
|
จุดเด่น
....................................................................
....................................................................
....................................................................
จุดที่ต้องพัฒนา
...................................................................
....................................................................
...................................................................
|
......................................................................
.....................................................................
.......................................................................
......................................................................
.....................................................................
......................................................................
.....................................................................
.....................................................................
|
ข้อพึงระวังในการสังเกตการณ์สอน
ü เครื่องมือ
เหมาะสม สอดคล้องกับประเด็นที่จะสังเกต
ü บันทึกตามสภาพจริง
เก็บข้อมูลครอบคลุมประเด็นที่สังเกต
ü ไม่นำเสนอความคิดเห็นของผู้นิเทศ
ü สถานที่นั่งควรเป็นหลังชั้นเรียน
ü ไม่รบกวนและขัดจังหวะการสอน
ü สังเกตครบกระบวนการที่ตกกันก่อนการนิเทศ
ü ระมัดระวังการใช้สีหน้า แววตา อากัปกิริยา
ขั้นตอนหลังสังเกตการสอน
1.
สร้างบรรยากาศที่ดีก่อนการให้ข้อมูลย้อนกลับ
2.
ให้ผู้รับการนิเทศได้สะท้อนจุดเด่นและจุดที่ควรพัฒนาของตนเอง
3.
ร่วมหาแนวทางพัฒนาโดยใช้ร่องรอยหลักฐานประกอบการสนทนา
สะท้อนคิด
4.
กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาในอนาคต
..........................................................................................................................................................
ที่มา
ดัดแปลงจากเอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์กลุ่มสาระเรียนรู้อื่นๆ
โดยใช้รูปแบบการนิเทศแบบคลินิก โดยคณะศึกษานิเทศก์ที่เข้าร่วมโครงการ “Capability-Building
Program in Leadership and Supervision of Language Instruction and Pedagogy for
Supervisors of English Language Teachers in Thailand” ณ
ประเทศสิงคโปร์ 2555
ระดับของทักษะกระบวนการคิดตามกรอบแนวคิดของ Bloom Taxonomy
เพื่อให้ครูผู้สอนได้ตระหนักถึงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการใช้ภาษาควบคู่ไปกับทักษะการคิด
1956
2001
ที่มารูปภาพ
apps4stages.wikispaces.com
ประกอบด้วยความรู้
6 ระดับที่สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์ (2557) ได้ระบุไว้ดังนี้
1.
ระดับความรู้ความจำ (Memory)
1.1
ความรู้เฉพาะสิ่ง
1.1.1
ความรู้ศัพท์เฉพาะ
1.1.2
ความรู้ข้อเท็จจริงเฉพาะสิ่ง
1.2
ความรู้เกี่ยวกับวิธีการจัดการกับสิ่งเฉพาะ
1.2.1 ความรู้เรื่องแบบแผนนิยม
1.2.2 ความรู้เรื่องแนวโน้มและลำดับเหตุการณ์
1.2.3 ความรู้เรื่องการจัดจำพวก และประเภท
1.2.4 ความรู้เรื่องเกณฑ์
1.2.5 ความรู้เรื่องระเบียบวิธี
1.3 ความรู้เรื่องสากล และเรื่องนามธรรมในสาขาต่างๆ
1.3.1 ความรู้เรื่องหลักการ
และข้อสรุปทั่วไป
1.3.2 ความรู้เรื่องทฤษฎี และโครงสร้าง
2. ระดับความเข้าใจ (Comprehension)
2.1 การแปล
2.2 การตีความ
2.3 การสรุปอ้างอิง
3. ระดับการประยุกต์ใช้ (Application)
การประยุกต์
4.ระดับการวิเคราะห์ (Analysis)
4.1 การสรุปอ้างอิง
4.2 การวิเคราะห์หน่วยย่อย
4.3 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์
4.4 การวิเคราะห์หลักการจัดระเบียบ
5. ระดับการสังเคราะห์ (Synthesis)
5.1 การสรุปอ้างอิง
5.2
ผลิตผลที่สื่อความหมายหรือมีลักษณะพิเศษเฉพาะ
5.3
ผลิตผลในลักษณะของแผนงานหรือชุดปฏิบัติการ
5.4 ผลิตผลในลักษณะของความสัมพันธ์เชิงนามธรรม
6.ระดับการประเมิน (Evaluation)
6.1 การตัดสินตามเกณฑ์ภายใน
6.2 การตัดสินตามเกณฑ์ภายนอก
จาก 6
ระดับดังกล่าวสามารถเชื่อมโยงสู่การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดโดยใช่รูปแบบการใช้คำถามที่มีสำคัญอยู่
2 ประการคือ
1.
การสร้างคำถามเพื่อให้นักเรียนตอบเป็นไปตามทักษะที่เราต้องการพัฒนาซึ่งมีคำถาม
6
ลักษณะดังต่อไปนี้
1.1
ถามเพื่อให้วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์
ผู้ตอบต้องอธิบาย แยกแยะ เช่น ประกอบด้วย
อะไร สาเหตุใดที่ต้องย้ายที่อยู่ใหม่ จงอธิบายเหตุและผลของการใช้โทรศัพท์มือถือ
คิดว่าเรียนโรงเรียนในตัวเมืองหรือใกล้บ้านดี
1.2
ถามเพื่อให้สังเคราะห์บูรณาการ
ผู้ตอบต้องอธิบายเป็นลักษณะของการสรุปเป็นองค์รวม
เช่น
เรื่องที่อ่านนี้ควรตั้งชื่อว่าอะไร
ทำอย่างไรให้พวกเราสามัคคีกัน สรุปใจความสำคัญของเรื่องนี้ด้วยประโยคสั้นๆ
1.3
ถามเพื่อให้จำแนก เปรียบเทียบ
ผู้ตอบต้องอธิบาย หรือจัดหมวดหมู่ เปรียบเทียบ เช่น
ในภาพนี้สามารถแบ่งสัตว์ได้กี่ประเภท
จงเปรียบเทียบลักษณะของคนไทยและคนเวียดนาม
1.4
ถามเพื่อให้หาเหตุผล เชื่อมโยง
ความสัมพันธ์ ผู้ตอบต้องอธิบายหาเหตุผล
เชื่อมโยงกับ
สิ่งต่าง
ๆ ความรู้ หรือปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น ทำไมควายกับนกเอี้ยงจึงพึ่งพาอาศัยกันได้ เป็นต้น
1.5
ถามเพื่อให้แก้ปัญหา
ตัดสินใจใช้วิจารณญาณ ประเมินค่า ผู้ตอบต้องอธิบายหรือแสดง
ออกทางพฤติกรรม
เช่น มีแนวทางในการป้องกันน้ำท่วมได้อย่างไร
เป็นต้น
1.6
ถามเพื่อให้พยากรณ์ คาดคะเน
แสดงมโนทัศน์ ผู้ตอบต้องใช้วิจารณญาณ เพื่อการ
คาดคะเน
นำสู่การนำเสนอ เช่น ถ้าเพื่อนบ้านอาเซียนเข้ามาทำมาหากินในบ้านเรามากขึ้น
เราจะเผชิญปัญหาด้านใดบ้าง เป็นต้น
2.
การใช้คำถาม
เป็นการถามผู้เรียนให้แสดงออกทางด้านความคิด เช่น การคิดอย่างมีเหตุผล
การคิดถูกทางเพื่อให้ได้ความคิดที่ถูกต้องและเอื้อประโยชน์ต่อสังคม
หรือการคิดไกลเพื่อให้ได้แผนงานในอนาคต (ดัดแปลงจาก สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์ , 2557)
ตัวอย่างแบบสังเกตการสอน
กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
แบบบันทึกการสังเกตการสอน EBE
ชื่อ-สกุล
ผู้รับการนิเทศ...........................................................โรงเรียน................................
ชั้นที่ทำการสอน......................................................เนื้อหา....................................................
วัน
เดือน
ปี..........................................................จำนวนเวลาที่สังเกตการสอน...............
คำชี้แจง ระดับการประเมิน 1
ไม่ปรากฏ 2 เล็กน้อย
3 ปานกลาง 4
มาก 5 มากที่สุด
ที่
|
รายการประเมิน
|
1
|
2
|
3
|
4
|
5
|
หมายเหตุ
|
|||
1.
|
กระตุ้นประสบการณ์เดิม
|
|||||||||
2.
|
บูรณาการกับทักษะอื่น
(ฟัง
พูด อ่าน เขียน)
|
|||||||||
3.
|
ใช้คำถามหลากหลายรูปแบบ
Yes/No
question, W/H question, Openended question
|
|||||||||
4.
|
ใช้คำถามที่เพิ่มระดับทักษะ
การคิด
|
|||||||||
5.
|
เน้นกระบวนเรียนรู้ภาษาสู่เนื้อหาวิชา
(วิทย์/ศิลปะ/สังคม)
|
|||||||||
6.
|
ใช้สื่ออย่างหลากหลาย
|
|||||||||
7.
|
สอนคำศัพท์ใหม่/ทบทวนศัพท์เก่า
|
|||||||||
8.
|
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน (รายบุคคล รายกลุ่ม)
|
|||||||||
9.
|
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์หรือประยุกต์ใช้
|
|||||||||
10.
|
ผู้เรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม
|
|||||||||
11.
|
มีการประเมินผู้เรียน
ก่อน/ระหว่าง/หลัง เรียน
|
|||||||||
12.
|
การสรุปองค์ความรู้เพื่อพัฒนา
ต่อยอด
|
|||||||||
Total
|
||||||||||
รูปแบบการจัดที่นั่งในชั้นเรียน
|
บันทึกเพิ่มเติม
..........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
(..................................................)
ผู้นิเทศ
วันที่ประเมิน......................
Classroom observation
(English Teachers/Foreign Teachers)
Evaluation Checklist for Teaching
of……………………..skills
Teacher’s name
:…………………………………………School:……………………
Class:
……………………………………………Date:……………………………………….
Direction: 1: No evidence 2: weak 3:
Satisfactory 4: Good 5: Excellent
No
|
Description
|
1
|
2
|
3
|
4
|
5
|
Remarks
|
||
1.
|
Activating
SS’ schema
|
||||||||
2.
|
Integrating
with other skills
|
||||||||
3.
|
Extent of different question
types; Yes/No, Wh/H question
|
||||||||
4.
|
Extent
of question levels
|
||||||||
5.
|
Raising
SS’ awareness of………..process
|
||||||||
6.
|
Engaging
ss’ with the activities or text
|
||||||||
7.
|
Emphasising
on specific subskill
|
||||||||
8.
|
Emphasising
on specific levels
|
||||||||
9.
|
Use
of Teaching aids
|
||||||||
10.
|
Teaching
of vocabulary
|
||||||||
11.
|
Teacher
and ss interaction
|
||||||||
12.
|
Teacher
and ss rapport
(praise,
support, facilitate)
|
||||||||
13.
|
Creativity
and Adaptability
|
||||||||
14.
|
T’s
English Proficiency
|
||||||||
15.
|
All
learners participate
|
||||||||
Total
|
|||||||||
(..................................................) Observer
Professional
Learning Community (PLC) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ในวิชาชีพ
ผู้ริเริ่มทำงานวิจัยพัฒนาและส่งเสริมชุมชนเรียนรู้ของครู
คือ ริชาร์ด ดูฟูร์ ในปี พ.ศ. 2541
เพื่อเป็นสื่อกลางของคณะครูที่รวมตัวกันสร้างสรรค์
นำประสบการณ์จากการจัดการเรียนรู้ และนวัตกรรมอื่น ๆ
ที่ตนเองทดลองใช้มาแลกเปลี่ยนกัน
เป็นการสร้างองค์ความรู้ในการทำหน้าที่ครูจากประสบการณ์ตรง
และจากหลากหลายทฤษฎีที่มีผู้คิดค้นไว้
PLCเป็นกระบวนการต่อเนื่องที่ครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมมือกันทำงานในวัฎจักรของการร่วมกันตั้งคำถาม
และการปฏิบัติจริงเพื่อให้ผู้เรียนมีพัฒนาการเรียนรู้ที่ดีขึ้น
โดยมีหลักสำคัญที่การทำงานของครูและผู้เกี่ยวข้องในประเด็นต่อไปนี้
ü เน้นกิจกรรมการเรียนรู้
ü มีวัฒนธรรมร่วมมือกันเพื่อการเรียนรู้ของทุกฝ่าย
ü ร่วมกันตั้งคำถามต่อวิธีการที่ดี
และสภาพปัจจุบัน
ü เน้นการปฏิบัติจริง
ü มุ่งพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ü เน้นที่ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ของผู้เรียน
(QA-News
: KMUTNB, 2557)
วัฒนธรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ในวิชาชีพ
(Professional
Learning Community Culture)
ในทัศนะของวัชรา เล่าเรียนดี
(2556:
82) มี 6 องค์ประกอบคือ
1.
การมีเป้าหมายและค่านิยมร่วมกัน
2.
การมีบรรทัดฐานและค่านิยมแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
3.
ความผูกพันในภาระหน้าที่
การมีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของนักเรียนทุกคน (Commitment)
4.
การมีความสัมพันธ์และความร่วมมือกันฉันท์เพื่อนร่วมวิชาชีพเดียวกัน
(Collegial
Relationship)
5.
การให้โอกาสและอิสระบุคลากรในโรงเรียนได้แสดงความคิดเห็น
แสวงหาความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
6.
การร่วมมือกันเรียนรู้และพัฒนา (Collaboration)
กรอบแนวคิด PLC
ตัวอย่าง วงจรการทำงานเป็นทีมแบบ PLC
การประชุม PLC การประชุม PLC
คณะใช้ข้อมูลคุณครูสอน ทั้งคณะใช้การ คุณครูคิดทบทวนหรือพัฒนา
สร้างแผนการสอนตามประเด็น ประเมินแบบธรรมดา บนพื้นฐานของการปฏิบัติ
ที่ประกอบด้วยการวัดที่ได้ประชุมร่วมกันแล้วพบปะ
วิเคราะห์
ก่อนหน้านั้นตามระดับของความ
ประเมินแบบธรรมดา ข้อมูล
และร่วมกันอภิปรายชำนาญ/สามารถ
วิธีการที่ต่างใช้สอน
กำหนดสถานการณ์ตามสภาพความต้องการของกลุ่ม
EBE (27/11/2514)
และสมาชิก nara2engclub
รุ่นที่ 1......การพัฒนาการใช้คำถามกับผู้เรียนเพื่อพัฒนาทักษะการคิด...
รุ่นที่
2.....การพัฒนาการใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารในชั้นเรียน............
****แชร์ผ่านช่องทาง nara2engclub blog/page
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น