วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

PLC (Nara2)  1/2560
ตามทัศนะของ Dufour (2004)  โรงเรียนในสถานะที่เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในโรงเรียนมีเป้าหมายร่วมกันคือคุณภาพผู้เรียนที่สูงขึ้นมากกว่าการสอนที่มากขึ้น คุณลักษณะของชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC: Professional Learning Community) เป็นกระบวนการที่มีระบบและร่วมมือกันอย่างมีพลัง คณะครูผู้สอนจะทำงานร่วมกันในการวิเคราะห์และพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน เน้นการทำงานเป็นหมู่คณะ เชื่อมโยงกันเป็นวัฏจักรที่ต่อเนื่องด้วยการใช้คำถามเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ที่ลุ่มลึกที่ส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้น ส่วนมุมมองของ Monroe-Baillargeon and Shema (2010) จำกัดความ PLC เป็นรูปแบบของสังคมและวัฒนธรรมการเรียนรู้ของครู และ Dufour (2004) ระบุว่า การที่คณะครูได้เรียนรู้ระหว่างกัน ผ่านการเสวนาและประสบการณ์ตรงนั้น ทำให้สมาชิกในกลุ่มได้นำเสนอต่อส่วนรวมมากกว่าการเก็บไว้เป็นเรื่องส่วนบุคคลโดยลำพัง การทำงานร่วมกันเป็นการแบ่งปันจุดเด่น และข้อจำกัดในทักษะและความรู้ของตน สำหรับคณะกรรมการการสอนแห่งชาติและอนาคตของอเมริกา[NCTAF] (2003) ให้ความสำคัญกับ PLC ว่าเป็นศูนย์รวมของนักการศึกษา คณะครู รวมถึงผู้นำในสถานศึกษาได้ทำงานร่วมกันในสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนและส่งเสริมให้การพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนสูงขึ้น นอกจากนี้ Mclaughlin and Talbert (2006) เน้นว่า คณะครูทำงานร่วมกันเพื่อที่จะสะท้อนการปฏิบัติงานของตน ตรวจสอบร่องรอยหลักฐานที่สัมพันธ์กันระหว่างการปฏิบัติการสอนและผลผลิตคือพัฒนาการของผู้เรียน สิ่งเหล่านี้เป็นการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเฉพาะกลุ่มผู้เรียนในแต่ละชั้นเรียน คณะครูได้มีโอกาสแบ่งปันทั้งความสำเร็จและข้อจำกัดในปฏิบัติการสอนของตน
ความยั่งยืนและเข้มข้นในการพัฒนาวิชาชีพส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานมากกว่าการพัฒนาวิชาชีพในระยะสั้น Ramirez-Nava (2013) เน้นย้ำว่า PLC เป็นลักษณะคล้ายคลึงกับการเรียนรู้เนื้อหาใหม่ ผู้คนใช้เวลาและประสบการณ์สร้างความรู้ใหม่ผ่านการประยุกต์ใช้และวัดประเมินผล ผลที่เกิดขึ้นชี้วัดการพัฒนาวิชาชีพที่มุ่งเน้นเนื้อหาในการสร้างจุดยืนให้กับครูผู้สอนด้วยการผสมผสานประสบการณ์จริงในโรงเรียนที่ส่งเสริมความรู้และทักษะของครูผู้สอน และเพื่อให้สามารถจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง (Active learning)

ที่มา เอกสารประกอบการประชุมปฏิบัติการโครงการชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นฐาน  ฮาซานะห์  บินมะอุง (2560)

อ้างอิง
Dufour, R. (2004). What is a professional learning community? Educational Leadership
                61(8), 6-11.
McLaughlin, M. W.  & Talbert, J.E. (2006). Building school-based teacher learning
            communities: Professional strategies to improve student achievement. In
            Ramirez-Nava, C.M. (2013). Exploring critical literacy teachers’ professional
            learning. Unpublished dissertation Doctor of Education in Curriculum and
            Instruction, Boise State University.

Monroe-Baillargeon, A. & Shema, A.L. (2010). Time to talk: An urban school’s use of
            Literature Circles to create a professional learning community. Education and Urban
            Society, 42(6), 651-673
National Commisssion on Teaching and America’s Future [NCTAF] (2003). Summary of
            national summit on transforming schools into strong learning communities. In
            Ramirez-Nava, C.M. (2013). Exploring critical literacy teachers’ professional
            learning. Unpublished dissertation Doctor of Education in Curriculum and
            Instruction, Boise State University.

Ramirez-Nava, C.M. (2013). Exploring critical literacy teachers’ professional learning.

Unpublished dissertation Doctor of Education in Curriculum and Instruction, Boise State University.
PLC (Nara2engclub)
Professional   Learning Community (PLC) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ในวิชาชีพ
          ผู้ริเริ่มทำงานวิจัยพัฒนาและส่งเสริมชุมชนเรียนรู้ของครู คือ ริชาร์ด ดูฟูร์ ในปี พ.ศ. 2541 เพื่อเป็นสื่อกลางของคณะครูที่รวมตัวกันสร้างสรรค์ นำประสบการณ์จากการจัดการเรียนรู้ และนวัตกรรมอื่น ๆ ที่ตนเองทดลองใช้มาแลกเปลี่ยนกัน เป็นการสร้างองค์ความรู้ในการทำหน้าที่ครูจากประสบการณ์ตรง และจากหลากหลายทฤษฎีที่มีผู้คิดค้นไว้
          PLC เป็นกระบวนการต่อเนื่องที่ครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมมือกันทำงานในวัฎจักรของการร่วมกันตั้งคำถาม และการปฏิบัติจริงเพื่อให้ผู้เรียนมีพัฒนาการเรียนรู้ที่ดีขึ้น โดยมีหลักสำคัญที่การทำงานของครูและผู้เกี่ยวข้องในประเด็นต่อไปนี้
ü เน้นกิจกรรมการเรียนรู้
ü มีวัฒนธรรมร่วมมือกันเพื่อการเรียนรู้ของทุกฝ่าย
ü ร่วมกันตั้งคำถามต่อวิธีการที่ดี และสภาพปัจจุบัน
ü เน้นการปฏิบัติจริง
ü มุ่งพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ü เน้นที่ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ของผู้เรียน (QA-News : KMUTNB, 2557)
วัฒนธรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ในวิชาชีพ (Professional Learning Community Culture)
ในทัศนะของวัชรา เล่าเรียนดี (2556: 82) มี 6 องค์ประกอบคือ
1.       การมีเป้าหมายและค่านิยมร่วมกัน
2.       การมีบรรทัดฐานและค่านิยมแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
3.       ความผูกพันในภาระหน้าที่  การมีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของนักเรียนทุกคน (Commitment)
4.       การมีความสัมพันธ์และความร่วมมือกันฉันท์เพื่อนร่วมวิชาชีพเดียวกัน (Collegial Relationship)
5.       การให้โอกาสและอิสระบุคลากรในโรงเรียนได้แสดงความคิดเห็น แสวงหาความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
6.       การร่วมมือกันเรียนรู้และพัฒนา (Collaboration)

กรอบแนวคิด PLC




 ตัวอย่าง     วงจรการทำงานเป็นทีมแบบ PLC

                     










ที่มา  คู่มือการนิเทศการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ (2557) สพป. นราธิวาส เขต 2  (ฮาซานะห์  บินมะอุง)

วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

PLC

แบบบันทึก PLC (ผ่านระบบไลน์)
\/
\/
\/


ตัวอย่าง



PLC

แบบบันทึก PLC
\/
\/
\/

ตัวอย่าง



แบบนิเทศติดตาม PLC
\/
\/
\/

ตัวอย่าง


ปฏิทินการนิเทศชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นฐาน
\/
\/
\/

ตัวอย่าง